การทำให้เน็ตไวขึ้น

โดยปกติแล้ว window จะ บล็อกความเร็วเน็ต ไว้ 20 เปอร์เซ็นต์ เรามีวิธีปลดบล๊อกได้ด้งนี้
ติดจรวดเล่นอินเตอร์เน็ตให้กับ Windows XP
การใช้งานอินตอร์เน็ตบางครั้งจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับส่วนประกอบหลายด้าน เราก็ พยายามหาหนทางปรับแต่งให้ถูกใจ
และถูกเงิน วิธีนี้เป็นอีกวิธีที่ทำให้การท่องอินตอร์เน็ตได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
1. คลิกที่ปุ่ม Start
2. เลือกที่แถบรายการ Run
3. ที่ช่อง Open พิมพ์คำว่า gpedit.msc แล้วคลิก OK
4. จะแสดงหน้าต่างของการปรับแต่ง Group Policy
5. ที่ Computer Configaration เลือกแถบ Administrative Templates
6. หัวข้อ Network เลือกที่ QoS Packet Scheduler
7. มองหน้าต่างด้านขวามือ ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ Limit reservable bandwidth
8. จะปรากฎกรอบหน้าต่างใหม่ Limit reservable bandwidth Properties
9. เลือกแถบ Setting คลิกที่ช่อง Enable
10. ในช่อง bandwidth limit (%) : ปรับค่าเป็น 0
11. คลิก OK เพื่อยืนยันการใช้งาน แค่นี้เองลองนำไช้ดูครับ


เก่าแล้วนะครับ ลองทำดู ได้ผลอยู่เหมือนกัน

CHMOD คือ อะไร

CHMOD คือ ค่า Permission นะคะ หรือ คือ ค่าของความมีสิทธิ์ในการเข้าถึงและใช้งาน File หรือ Directory นั้น ๆ

ซึ่งค่า Permission จะมีค่าต่าง ๆ แบ่งเป็นตัวเลข 3 หลัก เช่น 644, 755, 777 เป็นต้น
ซึ่งความหมายของเลขแต่ละหลักทั้ง 3 หลัก จะมีความหมายดังนี้

เลขในหลักแรก -> เจ้าของไฟล์/directory (Owner)

ตัวเลขในหลักแรก จะแสดงถึงสิทธิ์ในการเข้าถึงไฟล์ของผู้เป็นเจ้าของไฟล์ หรือ Dir นั้น ๆ ถ้า ตัวเลขหลักแรกเป็นเลข
4 จะหมายความว่า เจ้าของ (Owner) ไฟล์นั้น มีสิทธิ์ในการสั่งให้ไฟล์นั้นทำงาน เพียงอย่างเดียว แต่ไม่มีสิทธิ์ เขียน หรือ อ่าน ไฟล์นั้น
6 จะหมายความว่า เจ้าของ (Owner) ไฟล์นั้น มีสิทธิ์ในการสั่งให้ไฟล์นั้นทำงาน และมีสิทธิ์ในการเขียนไฟล์นั้นเพียงอย่างเดียว แต่ไม่มีสิทธิ์อ่านไฟล์นั้น (4+2)
7 จะหมายความว่า เจ้าของ (Owner) ไฟล์นั้น มีสิทธิ์ในการสั่งให้ไฟล์นั้นทำงาน และมีสิทธิ์ เขียน หรือ อ่าน ไฟล์นั้น (4+2+1)
( Execute => 4 คือ การสั่งให้ทำงาน Write = > 2 คือ การเขียนFile หรือ Directory Read = > 1 คือ การอ่าน File หรือ Directory )

เลขในหลักที่สอง -> ผู้ใช้กลุ่มเดียวกับเจ้าของไฟล์/directory (Group)

ตัวเลขในหลักแรก จะแสดงถึงสิทธิ์ในการเข้าถึงไฟล์ของผู้เป็นเจ้าของไฟล์ หรือ Dir นั้น ๆ ถ้า ตัวเลขหลักแรกเป็นเลข
4 จะหมายความว่า ผู้ใช้ในกลุ่มเดียวกับเจ้าของ (Group) ไฟล์นั้น มีสิทธิ์ในการสั่งให้ไฟล์นั้นทำงาน เพียงอย่างเดียว แต่ไม่มีสิทธิ์ เขียน หรือ อ่าน ไฟล์นั้น
6 จะหมายความว่า ผู้ใช้ในกลุ่มเดียวกับเจ้าของ (Group)ไฟล์นั้น มีสิทธิ์ในการสั่งให้ไฟล์นั้นทำงาน และมีสิทธิ์ในการเขียนไฟล์นั้นเพียงอย่างเดียว แต่ไม่มีสิทธิ์อ่านไฟล์นั้น (4+2)
7 จะหมายความว่า ผู้ใช้ในกลุ่มเดียวกับเจ้าของ (Group) ไฟล์นั้น มีสิทธิ์ในการสั่งให้ไฟล์นั้นทำงาน และมีสิทธิ์ เขียน หรือ อ่าน ไฟล์นั้น (4+2+1)


เลขในหลักที่สาม -> ผู้ใช้อื่น ๆ (Others)

ตัวเลขในหลักแรก จะแสดงถึงสิทธิ์ในการเข้าถึงไฟล์ของผู้เป็นเจ้าของไฟล์ หรือ Dir นั้น ๆ ถ้า ตัวเลขหลักแรกเป็นเลข
4 จะหมายความว่า ผู้ใช้อื่น ๆ มีสิทธิ์ในการสั่งให้ไฟล์นั้นทำงาน เพียงอย่างเดียว แต่ไม่มีสิทธิ์ เขียน หรือ อ่าน ไฟล์นั้น
6 จะหมายความว่า ผู้ใช้อื่น ๆ มีสิทธิ์ในการสั่งให้ไฟล์นั้นทำงาน และมีสิทธิ์ในการเขียนไฟล์นั้นเพียงอย่างเดียว แต่ไม่มีสิทธิ์อ่านไฟล์นั้น (4+2)
7 จะหมายความว่า ผู้ใช้อื่น ๆ มีสิทธิ์ในการสั่งให้ไฟล์นั้นทำงาน และมีสิทธิ์ เขียน หรือ อ่าน ไฟล์นั้น (4+2+1)

ตัวอย่างเลข 777 จะหมายความว่า ผู้ใช้ในทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของไฟล์ / กลุ่มเดียวกับเจ้าของ / ผู้ใช้อื่น ๆ ทุกกลุ่มที่กล่าวมา มีสิทธิ์ในการกระทำทุกสิ่งกับไฟล์ที่มีค่า CHMOD เป็น 777 เป็นต้น
วิธีการอัพเดทหรือ Flash BIOS เพื่อให้เมนบอร์ดรองรับอุปกรณ์ใหม่ ๆ
การ Flash BIOS ก็คือการ Update เปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือซอฟท์แวร์ที่บรรจุอยู่ใน BIOS ROM Chip ซึ่งจะเป็นซอฟท์แวร์ขนาดเล็ก ๆ ที่จำเป็นสำหรับการบูทเครื่องคอมพิวเตอร์ การที่เราทำการ Update BIOS ก็คือการ Update ซอฟท์แวร์นี้นั่นเอง เหตุผลที่ต้องมีการ Update BIOS มีดังนี้
เพื่อให้ BIOS นั้นสามารถรองรับการทำงานของอุปกรณ์ใหม่ ๆ ได้
เพิ่มเติมและแก้ไขความสามารถต่าง ๆ ให้มากขึ้นเช่นการ Auto Detect อุปกรณ์ต่าง ๆ
เพิ่มการ Support กับ CPU ใหม่ ๆ ที่เพิ่งจะเกิดขึ้นมาด้วย
เพิ่มการรองรับกับ Hard Disk ขนาดใหญ่ ๆ รองรับหรือแก้ปัญหา Y2K
แก้ไขปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นกับเมนบอร์ด
ในบางครั้ง ก็อาจจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความเสถียรภาพของระบบโดยรวมได้
และอื่น ๆ อีกมากมาย
รายละเอียดของ BIOS แต่ละ Version คงต้องหาข้อมูลจากเวปไซต์ของผู้ผลิตเมนบอร์ดแต่ละยี่ห้อนะครับว่าจะมีอะไรไหม่ ๆ บ้าง
จำเป็นมากแค่ไหน ที่ต้องทำการ Flash BIOS
โดยทั่วไปแล้ว หากคุณสามารถใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ปกติ ไม่มีปัญหาอะไรก็คงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำการ Update BIOS นะครับแต่ถ้าหากวันใดที่ต้องการเพิ่มอุปกรณ์ใหม่ ๆ เข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ เช่นเปลี่ยน CPU หรือ Hard Disk ใหม่ และเกิดปัญหา หรือไม่สามารถใช้งานได้ ก็อาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องทำการ Update BIOS นะครับ ดังนั้น คงจะขึ้นอยู่กับความจำเป็นต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ว่าต้องการที่จะแก้ไขอะไรใน BIOS หรือไม่ เพราะจะว่าไปแล้ว การ Update BIOS ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรนัก แต่หากเกิดการผิดพลาดระหว่างการ Flash BIOS ก็อันตรายมาก ถึงขนาดไม่สามารถบูทเครื่องได้เลยเชียวนะ
จะสามารถหา BIOS ใหม่ ๆ ได้จากที่ไหน
แน่นอน ก็ต้องที่เว็บไซต์ของผู้ผลิตเมนบอร์ดของแต่ละยี่ห้อนั้น ๆ และจะต้องเป็น BIOS ของเมนบอร์ดรุ่นเดียวกันด้วยนะครับ ไม่ขอแนะนำให้นำ BIOS ของเมนบอร์ดรุ่นอื่น ๆ หรือที่ไม่แน่ใจมาทำการ Flash เด็ดขาด ส่วนใหญ่จะไม่สามารถใช้งานได้ หรืออาจจะไม่สามารถบูทเครื่องได้เลยก็ได้
การเตรียมอุปกรณ์ก่อนทำการ Flash BIOS
สิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับการ Flash BIOS มีดังนี้
# เตรียมแผ่น Floppy Disk สำหรับ Boot เครื่องเช่น Windows Start Up Disk หรือแผ่น Boot DOS เพื่อใช้สำหรับ Boot เครื่องเข้า DOS Prompt อย่างเดียว (อาจจะทำขึ้นมาเองง่าย ๆ โดยใส่แผ่นดิสก์แล้วสั่ง format a: /s ก็ได้)
# เตรียมโปรแกรมสำหรับ Flash BIOS โดยที่จะสามารถหาได้จากเวปไซต์ของผู้ผลิตเมนบอร์ดนั้น ๆ นะครับ ส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์เล็ก ๆ เช่น AWDFLASH.EXE หรือหากเวปไซต์นั้น แนะนำให้ใช้โปรแกรมตัวอื่น ๆ ก็ขอให้ใช้ตามนั้นนะครับ
# เตรียม Image BIOS โดยที่จะสามารถหาได้จากเวปไซต์ของผู้ผลิตเมนบอร์ดนั้น ๆ นะครับ รูปแบบทั่วไปส่วนใหญ่ จะเป็นไฟล์นามสกุล .BIN นะครับ อันนี้ขอเน้นอีกครั้งว่า ต้องเป็น Image BIOS สำหรับเมนบอร์ดรุ่นเดียวกันเท่านั้นนะครับ
ขั้นตอนการทำ Flash BIOS
หลังจากที่ตัดสินใจจะทำการ Update BIOS แน่นอนแล้ว และเตรียมอุปกรณ์หรือซอฟท์แวร์ต่าง ๆ พร้อมแล้ว ก็เริ่มต้นขั้นตอนตามนี้
# เปิดเครื่อง และเข้าไปทำการ BIOS Setup โดยกด DEL ระหว่างที่เครื่องกำลังทดสอบ RAM อยู่ ทำการตั้งค่าของ System BIOS Cacheable Option ใน BIOS ให้เป็น Disabled เสียก่อนที่จะทำการ Flash BIOS ใหม่
# ให้เปิดคู่มือของเมนบอร์ดเพื่อหาตำแหน่งของ jumper สำหรับการ Flash BIOS (หากไม่มีคู่มือ ลองมองหาดู jumper ใกล้ ๆ กับ CMOS นะครับ ส่วนใหญ่จะเป็น jumper 3 ขาและมีการพิมพ์กำกับการใช้งานอยู่บนบอร์ด) ทำการเปลี่ยน jumper ไปที่ตำแหน่ง Flash นะครับ ซึ่งเท่าที่ทราบมา เมนบอร์ดบางรุ่นอาจจะไม่มีก็ได้ ให้ลองหาดูก่อน
# Boot เครื่องใหม่ โดยทำการ Boot แบบ Clean Boot ครับ คือให้กด F8 ขณะที่กำลังจะเข้าสู่หน้าจอ Start Windows จะเข้าหน้าจอของ Menu แล้วจากนั้นเลือก Save Mode MS DOS Prompt แล้วจึงทำในขั้นตอนต่อไป หรือจะให้ดีควรจะ Boot เครื่องจากแผ่นดิสก์ที่มีแต่เพียง DOS อย่างเดียว โดยไม่มีการ Load Driver อะไรต่าง ๆ เลย
# สั่งหรือเรียกโปรแกรมสำหรับ Flash เช่น AWDFLASH หรือโปรแกรมสำหรับ Flash BIOS ที่ Download มา
โดยส่วนใหญ่ตรงนี้ โปรแกรมจะถามให้ทำการ Save BIOS Version เก่าที่มีอยู่ในเครื่องเก็บไว้ก่อน ขอแนะนำให้ทำการ Save BIOS ใส่แผ่นดิสก์ไว้นะครับ เพื่อความไม่ประมาท หรือถ้าหากเกิดการผิดพลาดขึ้น อาจจะยังพอแก้ไขได้
# ใส่ชื่อของ file ที่เป็น Image BIOS ที่ต้องการจะ Flash จากนั้นทำการ Flash ตามขั้นตอนคำแนะนำของโปรแกรม
# การ Flash จะใช้เวลาไม่นานมากนัก ประมาณไม่เกิน 1 นาที ระหว่างนี้ก็ต้องระวัง ห้ามปิดเครื่องหรือทำการ Reset โดยเด็ดขาดนะครับ ไม่เช่นนั้น เมนบอร์ดคุณอาจจะไม่สามารถ Boot ได้เลยก็ได้ (ต้องระวังเรื่องไฟฟ้าดับด้วย พยายามอย่าทำขณะที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าดับเป็นอันขาด)
# หลังจากที่ Flash เรียบร้อยแล้ว ให้ปิดเครื่องสักประมาณ 15 วินาที หากได้ทำการเปลี่ยน jumper สำหรับการ Flash ไว้ตั้งแต่ต้น ก็ทำการเปลี่ยนกลับไปเป็นเหมือนเดิมด้วย
# บางครั้ง ต้องทำการ Clear CMOS jumper (คนละอันกับ Flash jumper นะครับ) ก่อนที่จะเปิดเครื่องใหม่ด้วย
# เปิดเครื่องใหม่ เข้าไปทำการ Setup BIOS โดยกด DEL ขั้นตอนแรกคือเลือกที่เมนู Load Default Setup หรือ Load BIOS Setup ก่อน จึงตั้งค่าต่าง ๆ ตามต้องการ เลือก Save ค่าที่ตั้งไว้ ก็จบขั้นตอนการ Flash BIOS
# สำหรับ Award BIOS หากว่าในขณะที่ทำการ Flash BIOS ใหม่นั้น เกิด Error Message มาว่า Insufficient Memory ก็ไม่ต้องตกใจนะครับ เพราะ มันก็จะยังไม่ได้ทำการ Flash BIOS ให้ใหม่ ดังนั้น ก็ให้คุณ Boot เครื่องใหม่ แล้วเข้าไป set ใน BIOS ตรง Chipset Feature Setup ให้เลือก Video BIOS Cacheable เป็น Disable ซะ แล้ว Save และ Exit เพื่อ Boot ใหม่ Boot เข้า Clean Boot แล้วทำการ Flash ใหม่ ซึ่งก็ไม่น่าจะเกิดปัญหานี้อีกแล้ว จากนั้น เมื่อทำการเสร็จแล้ว ก็ Reboot หรือ ปิดเครื่องไว้สักพัก แล้วเปิดใหม่ และเมื่อ Boot เข้ามาใหม่แล้ว ให้เข้าไปแก้ไขที่ Chipset Feature Setup ตรง Video BIOS Cacheable เป็น Enabled เหมือนเดิม
ข้อควรระวังสำหรับการ Flash BIOS ขอย้ำอีกครั้งนะครับเพราะสำคัญมาก
# ต้องใช้ Image BIOS ที่เป็นรุ่นเดียวกับเมนบอร์ดเท่านั้น
# ระวังไฟตก ไฟฟ้าดับ หรือเครื่องแฮงก์ ขณะทำการ Flash เพราะอาจจะทำให้ไม่สามารถ Boot เครื่องได้เลย
# ให้ทำการ Save Image BIOS ของเดิมเก็บใส่แผ่นดิสก์ไว้ก่อนเสมอครับ
# ถ้ามีการเตือนว่า Image BIOS ที่กำลังจะ Flash นั้นไม่สามารถเข้ากันได้กับเครื่องหนือเมนบอร์ดของคุณ ระวัง อย่าทำการ Flash โดยเด็ดขาด เพราะเป็นไปได้มากที่คุณใช้ Image BIOS ผิดรุ่น ซึ่งอาจจะทำให้เครื่องคุณ Boot ไม่ขึ้นเลยก็ได้
หาก Flash BIOS ไปแล้ว Boot ไม่ขึ้นจะแก้ไขอะไรได้บ้าง
สำหรับท่านที่พบปัญหาเนื่องจากสาเหตุอะไรซักอย่าง ทำให้ไม่สามารถ Boot เครื่องได้ก็อย่าเพิ่งตกใจ วิธีแก้ไขก็มีดังต่อไปนี้
# การทำ Boot-Block BIOS สำหรับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ โดยเฉพาะที่ใช้กับ Award BIOS นั้นจะมี Boot-Block BIOS มาด้วย โดยจะเป็นส่วนของข้อมูลเล็กๆ ที่จะไม่มีการเขียนทับ หรือ แก้ไขใดๆ ลงไปได้ แม้ว่าจะ Flash BIOS สักกี่ครั้งก็ตาม โดย Boot-Block BIOS นั้น จะรู้จักแต่ Floppy Disk Drive และ Display Card แบบ ISA เท่านั้น! หากว่าใช้ Display Card เป็น PCI หรือ AGP ก็หมดหวังเลยครับ และ Boot-Block BIOS นี้ จะสามารถ Boot เครื่องได้ เฉพาะ Floppy Disk เท่านั้น ดังนั้น ก็เราก็สามารถเตรียม Image BIOS และ ตัว โปรแกรม Flash ใส่ไว้ในแผ่น แล้ว พอ Boot เสร็จ ก็ ทำการ Flash ซะใหม่ ก็ได้ หรือ จะเขียน autoexec.bat ให้ทำการ Flash อัตโนมัติ เลยก็ได้
# การทำ Hot Swapping การแก้ไขวิธีนี้ มีหลักการคือ นำเอา Chip BIOS ที่มีปัญหาไปทำการ Flash กับเมนบอร์ดของเครื่องที่ใช้งานได้ปกติ โดยทำขณะที่ยังเปิดเครื่องปกติอยู่ และถอด Chip BIOS ของเครื่องนั้นออก นำเอา Chip BIOS ที่ของเราที่มีปัญหาใส่เข้าไปแล้วทำการ Flash ใหม่ การแก้ไขวิธีนี้วุ่นวายไม่ใช่น้อยๆ และ ผมขอไม่รับผิดชอบนะครับ กับความเสียหาย ที่เกิดขึ้นจากวิธีนี้ เพราะมันค่อนข้างละเอียด และ ผิดพลาดได้ง่ายๆ ... เพราะฉะนั้น ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของตัวเองด้วย สำหรับวิธีนี้
- ให้ถอด Chip BIOS ที่มีปัญหาออกมา แล้วหาเมนบอร์ดรุ่นเดียวกัน Spec เดียวกัน ซึ่งไม่มีปัญหามาเพื่อใช้ในการ Boot โดยก่อนที่จะทำการ Flash ก็ให้เข้าไปใน BIOS เพื่อ Set System BIOS Cacheable ให้เป็น Enable ก่อนด้วย
- Boot เครื่อง ด้วยเมนบอร์ดตัวที่ BIOS ไม่มีปัญหา และ Boot แบบ Clean ดังที่กล่าวมาแล้ว
- ทำการแกะ Chip BIOS จากเมนบอร์ดออกโดยที่ยังเปิดเครื่องทิ้งไว้อยู่ ตรงนี้ ต้องใช้ความระมัดระวัง และ เสี่ยงเป็นอย่างมาก
- ใส่ Chip BIOS ตัวที่มีปัญหาลงไปแทนที่ แล้วทำการ Flash BIOS ใหม่ จากนั้น ก็ Reboot หรือ ปิดเครื่อง
- ถ้าไม่มีปัญหาใดๆ เจ้า BIOS ที่เคยมีปัญหา ก็จะกลับมาใช้งานได้ดังเดิมครับ
ข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับใครที่คิดจะใช้วิธีการนี้คือ ก่อนที่จะเริ่มต้น ให้ทำการแกะ Chip BIOS ออกมาจาก Socket ก่อนแล้วใส่ใหม่โดยวางแปะลงไป กดแต่เพียงเบา ๆ แต่ต้องแน่ใจว่าทุก ๆ ขาของ Chip BIOS สัมผัสกับ Socket ดีนะครับ เมื่อถึงเวลาที่เปลี่ยน Chip BIOS โดยที่ยังต้องเปิดเครื่องอยู่นั้น จะช่วให้สามารถแกะ Chip CMOS ออกมาได้ง่าย ๆนอกจากนี้ ข้อมูลที่ผมเคยได้ยินมาคือ สามารถที่จะใช้เมนบอร์ดคนละรุ่น เพื่อทำการ Flash BIOS แบบ Hot Swapping นี้ก็ได้ แต่อย่างน้อยที่สุดก็ขอให้เป็น Chip BIOS ที่เป็นเบอร์และขนาดเดียวกันนะครับ ทั้งนี้ผมไม่รับรองความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนะครับ โดยที่ขณะที่จะทำการ Flash จะทีข้อความเตือนทำนองว่า BIOS นั้นไม่สามารถเข้ากับเครื่องหรือเมนบอร์ดได้ ก็กดยืนยันการทำการ Flash BIOS ต่อไปเลยนะครับ
สำหรับเมนบอร์ดของ Intel โดยเฉพาะ
# เปลี่ยน Jumper ตรง Flash Recovery Jumper ให้ไปอยู่ตรง Recovery Mode ( อ่านจากคู่มือ และ สำหรับบางรุ่น ก็ไม่มี Jumper ตัวนี้)
# เอาแผ่น Bootable Upgrade Disk ใส่ไว้ที่ Drive A;
# Boot เครื่อง โดยเครื่องจะทำงานตามปกติ แต่จะไม่มีการ Display อะไรออกที่หน้าจอ ( วิธีนี้ ก็คล้ายๆ กับ วิธีที่ Boot-Block BIOS เพียงแต่ ใช้สำหรับเมนบอร์ดของ Intel บางรุ่น เท่านั้น ) โดยจะดูผลการ Boot หรือ การทำงานโดยสังเกตุจากไฟ LED บนฝา CASE และ/หรือ ฟังจากเสียง Beep
# ระบบจะทำการกู้คืนข้อมูล BIOS ด้วยข้อมูลที่อยู่บน Disk ให้สังเกตุที่ไฟของ Floppy Disk ถ้าไฟติดอยู่ และ ยังมีเสียงอ่านอยู่ ก็แสดงว่ากำลังทำงานอยู่ และถ้าดับเมื่อไร ก็แสดงว่าการ กู้คืนนั้น เสร็จสิ้นลงแล้ว
# ปิดเครื่อง แล้วเปลี่ยน Jumper จากข้อแรกให้กลับอยู่ตำแหน่งเดิม จากนั้นก็เปิดเครื่องใหม่ ซึ่งก็น่าจะไม่มีปัญหาแล้ว
# วิธีสุดท้าย หากไม่สามารถแก้ไขได้จริง ๆ สำหรับท่านที่มีปัญหาทำการ Flash แล้วไม่สามารถ Boot ได้ อาจจะใช้วิธีตีหน้าเซ่อ นำกลับไปยังร้านที่ซื้อมา (ถ้ายังอยู่ในประกัน) แล้วบอกว่าเมนบอร์ดเสียก็ได้ อันนี้ขึ้นอยู่กับดวงนะครับ ว่าร้านที่ซื้อมา จะยอมเปลี่ยน หรือซ่อม ให้หรือเปล่า หากลองทุกวิธีแล้วก็ยังไม่สำเร็จ ยังมีอีกแบบหนึ่งนะครับ ที่ค่อนข้างจะรับรองผลได้แน่นอนคือ การถอด Chip BIOS และหา Image BIOS โดยหาจากเวปไซต์ผู้ผลิต หรือจากที่ทำสำรองไว้ หรือจะทำการ copy มาจากเครื่องอื่น ๆ ที่เป็นรุ่นเดียวกันก็ได้ นำไปให้ร้านที่มีเครื่องมือทำการ copy ข้อมูลลงใน Chip BIOS ให้เรา เคยได้ยินมาว่าที่พันธ์ทิพย์ก็มีร้านที่รับทำแบบนี้ และอีกร้านคือ Electronics Source แถว ๆ บ้านหม้อ โดยที่อาจจะมี Chip BIOS ขายให้ท่านด้วยก็ได้ ลองสอบถามข้อมูลจากเพื่อน ๆ หรือตามเวปบอร์ดที่คุยเรื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ดูเช่นที่ http://www.pantip.com ก็ได้

*** คำเตือนสำหรับผู้ที่คิดจะ Flash นะครับ กรุณาอ่านรายละเอียด และขั้นตอนการใช้งานจากไฟล์ที่ไปดาวน์โหลดมาให้เข้าใจก่อน เพราะ Mainboard แตกต่างยี่ห้อ คนละรุ่น อาจจะมีขั้นตอนและวิธีการไม่เหมือนกัน และถ้าทำผิด อาจจะทำให้ Mainboard นั้นใช้งานไม่ได้ไปเลยก็ได้ครับ ***

ด่าพ่อล่อแม่

เพลงด่าพ่อล่อแม่

เพลงนี้เป็นเพลงใต้ดินนะจ๊ะ เจอเลยเอามาให้เพลงคับ

ค้นหาอะไรก็เจอ